ปรับขนาดตัวอักษร
โหมดการเข้าถึงสำหรับผู้พิการ
ที่มาและความสำคัญของโครงการ
การสูญเสียอาหารและขยะอาหาร (Food loss and waste)
ตลอดห่วงโซ่อุปทาน เป็นประเด็นที่นานาประเทศให้ความสำคัญ โดยได้ถูกกำหนดไว้
เป็นส่วนหนึ่งของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Developrnent Goals
: SDG) เป้าหมายที่ 12 (5DG 12)

การสร้างหลักประกันให้มีรูปแบบการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน โดยเป้าประสงค์ที่ 12.3 ระบุให้มีการส่งเสริมการลดขยะอาหาร ของโลกลงครึ่งหนึ่งในระดับค้าปลึกและบริโภค และลดการสูญเสียอาหารจากกระบวนการผลิตและห่วงโซ่อุปทาน รวมถึงการสูญเสีย หลังการเก็บเกี่ยวภายในปี พ.ศ. 2573 และเชื่อมโยงไปสู่เป้าหมายอื่น ๆ เช่น เป้าหมายที่ 1 ขจัดความยากจน : NO Poverty และเป้าหมายที่ 13 การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ : Clinate Action ขณะที่ประเทศไทยได้ให้ความสำคัญในเรื่องการจัดการการสูญเสียอาหารตลอดห่วงโซ่อุปทานมากขึ้นดังปรากฏสาระสำคัญในแผน ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2565-2567) "พลิกโฉมประเทศไทย สู่ลังคมก้าวหน้า เศรษฐกิจสร้างมูลค่าอย่างยั่งยืน" ภายใต้หมุดหมายที่ 10 ไทยมีเศรษฐกิจ หมุนเวียนและสังคมคาร์บอนต่ำและหมุดหมายที่ 11 ไทยสามารถลดความเสี่ยงและผลกระทบจากภัยธรรมชาติและการเปลี่ยน แปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งสอดลคล้องกับแผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2560-2565 และแผนขับเคลื่อนการผลิตและบริโภค ที่ยั่งยืน พ.ศ.2560-2580 (Sustainable Consumptionand Production Roadmap 2017-2037 : SCP) ได้กำหนดภาคส่วน ที่เกี่ยวข้อง และมีส่วนขับเคลื่อนการบรรลุเป้าหมาย SCP ได้แก่ ภาคเกษตรกรรมและอาหาร ภาคบริการและการท่องเที่ยว ภาคเมือง และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคการสร้างความตระหนักรู้และการศึกษา โดยได้กำหนดเป้าหมาย SCP คือ ลดการเกิดการสูญ เสียอาหาร (food loss) และขยะอาหาร (food waste) และบรรลุตามระบบการผลิตอาหารที่ยั่งยืน อีกทั้งเป็นการน้อมนำหลัก ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และหลักการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมาเป็นแนวทางในการกำหนดมาตรการ เพื่อให้การจัดการและแก้ไขปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

กรมควบคุมมลพิษ ได้จัดทำ (ร่าง) แผนที่นำทางการจัดการขยะ อาหาร (พ.ศ. 2566-2573) และ (ร่าง) แผนปฏิบัติด้านการจัดการขยะ อาหาร ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2566-2570) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นกรอบ และทิศทางการดำเนินงานของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในการบูรณาการ และขับเคลื่อนการจัดการขยะอาหารของประเทศเพื่อจัดทำนโยบายและ แผนปฏิบัติการส่งเสริมให้เกิดการจัดการขยะอาหารของประเทศอย่าง เป็นระบบและครบวงจรโดยเฉพาะภาคส่วนผู้จำหน่ายอาหาร ผู้ประกอบอาหาร ผู้บริโภค

ในปี 2565 สำนักงานสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษที่ 15 (ภูเก็ต) ได้ดำเนินการศึกษาองค์ประกอบขยะมูลฝ่อยของศูนย์กำจัดขยะ มูลฝอยเทศบาลนครภูเก็ต ผลการศึกษาองค์ประกอบขยะมูลฝอย พบว่า เศษอาหารเป็นขยะมูลฝอยที่พบมากที่สุดมากที่สุดคือ ร้อยละ 49.137 แหล่งที่ก่อให้เกิดขยะอาหาร ได้แก่ ครัวเรือน/ชุมชน โรงเรียน/สถานศึกษาโรงพยาบาล โรงแรม รีสอร์ท ร้านอาหาร ตลาดสด รวมถึง ร้านสะดวกชื่อหรือร้านค้าปลีก - ส่ง เนื่องด้วย ขยะอาหารเมื่อย่อยสลายทำให้เกิดก๊าซมีเทน ซึ่งมีศักยภาพในการทำให้เกิดภาวะโลกร้อน หรือ Global Warming Potential (GWP) 28 เท่าของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ประกอบกับ จากนโยบายของรัฐบาลมุ่งกระตุ้นเศรษฐกิจด้วย การส่งเสริมขยายการท่องเที่ยว โดยเฉพาะภูเก็ตเป็นพื้นที่ท่องเที่ยวที่สำคัญของการสร้างรายได้ให้แก่ประเทศ ดังนั้น จังหวัดภูเก็ตมีแนวโน้ม ที่จะมีนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น ส่งผลให้มีปริมาณขยะเพิ่มขึ้น นั่นหมายถึงปริมาณขยะอาหารที่เพิ่มขึ้นด้วย ในขณะเดียวกันการส่งเสริมการ ท่องเที่ยวแบบคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ (carbon neutral tourism) เพื่อสอดคคล้องกับทิศทางนโยบายความยั่งยืน ต่อการจัดการสิ่งแวด ล้อมเพื่อการลดก๊าซเรือนกระจก ทั้งในระดับโลกและระดับประเทศ ด้วยเหตุนี้ สำนักงานสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษที่ 15 (ภูเก็ต) กรมควบคุมมลพิษ ได้เล็งเห็นความสำคัญถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและต้องเร่งดำเนินการบริหารจัดการให้รวดเร็วโดยใช้ฐานข้อมูลที่เป็น จริงและถูกต้อง จึงเห็นควรให้มีการจัดเก็บรวบรวมข้อมูลและประมวลผลข้อมูลด้านการจัดการขยะอาหารและอาหารส่วนเกินในระบบดิจิตอล ด้วยโปรแกรมที่มีลักษณะเฉพาะพิเศษ จำเป็นต้องมีผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ มีทักษะสูงและความชำนาญการเป็นพิเศษ รวมถึงการมี ประสบการณ์ด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งจำเป็นต้องมีความเข้าใจและสามารถเชื่อมโยงหลายมิติในการออกแบบโปรแกรมและพัฒนาแพลตฟอร์ม ในระบบดิจิตอลเพื่อการจัดการขยะอาหารและอาหารส่วนเกินเพื่อผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลล